วันพุธที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2553

บิดาแห่งวิชาพันธุศาสตร์


เมนเดล :: บิดาแห่งวิชาพันธุศาสตร์

เกรเกอร์ โจฮันน์ เมนเดล : Gregor Mendel
เกิด วันที่ 27 กรกฎาคม ค.ศ. 1822 ที่เมืองโมราเวีย (Moravia) ประเทศสาธารณรัฐเชค (Republic of Czech) เสียชีวิต วันที่ 6 มกราคม ค.ศ. 1884 ที่เมืองเบิร์น (Brunn) ประเทศสาธารณรัฐเชค (Republic of Czech)ผลงาน - ค้นพบลักษณะการถ่ายทอดพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต- ให้กำเนิดวิชาพันธุศาสตร์ (Genetices)เมนเดลได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งพันธุศาสตร์ ด้วยผลงานการค้นพบความลับทางธรรมชาติ ที่ว่าด้วยการถ่ายทอดลักษณะต่าง ๆ ของพ่อแม่ไปยังลูกหลาน หรือที่เรียกว่า กรรมพันธุ์ (Heredity)
การทดลองของเมนเดลเกรเกอร์ โจธัน เมนเดล เกิดในปี ค.ศ.1822 เมนเดลเคยศึกษาวิชาฟิสิกส์ คณิตศาสตร์และธรรมชาติวิทยา เขาบวชเป็นพระที่เมืองบรูนน์ ประเทศออสเตรีย ในสมัยของเมนเดลมีความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องพันธุศาสตร์ที่ผิด ๆ อยู่เช่น เผ่าพันธุ์ของพืช สัตว์ จะดำรงอยู่ได้โดยไม่เปลี่ยนแปลงลักษณะและจะเปลี่ยนแปลงลักษณะต่อเมื่อธรรมชาติเปลี่ยนแปลงไป เป็นต้นแต่เมนเดลเป็นผู้ค้นพบคำตอบที่ถูกต้องโดยทดลองกับต้นถั่วลันเตา ถั่วลันเตาเป็นพืชที่ไม่มีความสลับซับซ้อนเพราะเมื่อสังเกตลักษณะภายนอกจะพบความแตกต่างง่าย ๆ เช่น ความสูงของลำต้นมี 2 ขนาด มีลักษณะเมล็ด 2 แบบ ถั่วลันเตาเป็นพืชที่เหมาะสมที่ใช้ในการทดลองการทดลองของเมนเดล1. เมนเดล ผสมต้นถั่วลันเตาจนได้พันธุ์บริสุทธิ์ทั้ง พ่อพันธุ์ แม่พันธุ์2. เมนเดล นำต้นถั่วพันธุ์สูงเป็นพ่อพันธุ์ หรือแม่พันธุ์ มาผสมกับต้นถั่วพันธุ์เตี้ยซึ่งเป็นแม่พันธุ์หรือพ่อพันธุ์ เป็นการผสมข้ามต้นต่างลักษณะ3. เมนเดล นำต้นถั่วรุ่นที่สอง (F2) มาผสมพันธุ์กันเองสรุปผลการทดลองของเมนเดล1. ลักษณะทางพันธุกรรมที่ควบคุมความสูงของต้นถั่วมีลักษณะเด่น คือ ลักษณะลำต้นสูงกับลักษณะด้อย คือ ลักษณะลำต้นเตี้ย ลักษณะทางพันธุกรรมของพ่อจะอยู่ในละอองเกสรตัวผู้ ของแม่จะอยู่ในรังไข่ ลักษณะพันธุกรรมจึงถ่ายทอดถึงลูกหลานได้2. ลักษณะเด่นจะข่มลักษณะด้อยในรุ่นลูก (F1) จึงพบรุ่นลูกมีลักษณะเด่นหมด ทั้งนี้ภายในข้อจำกัดพ่อและแม่ ต้องเป็นพันธุ์เด่นแท้และด้อยแท้3. ในชั่วรุ่นหลาน (F2) โดยปล่อยให้รุ่นลูก (F1) ผสมพันธุ์กันเองจะได้ลักษณะเด่นต่อลักษณะด้อยในอัตราส่วน 3 : 1ทฤษฎีความน่าจะเป็นทฤษฎีความน่าจะเป็น (Probability Theory) เป็นทฤษฎีทางคณิตศาสตร์ ที่ใช้อธิบายโอกาสที่จะเป็นไปได้อย่างสุ่มซึ่งไม่สามารถบังคับได้ เช่น การโยนเหรียญ เราไม่ทราบว่าเหรียญจะออกหัวหรือก้อย หรืออาจกล่าวได้ว่าเหรียญอาจออกหัวหรือก้อยด้วยโอกาสเท่า ๆ กันทฤษฎีความน่าจะเป็นนี้นำมาประยุกต์ได้กับกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ในทางพันธุศาสตร์ได้คือ ในการผสมพันธุ์โดยปกติ ไม่ว่าจะเป็นพืช สัตว์หรือคน ลูกจะเหมือนพ่อแม่ ปู่ ย่า ตา ยายแต่ลูกคนใดจะนำลักษณะใดมาบ้างนั้นเป็นสิ่งที่ไม่สามารถบังคับได้
กฎแห่งการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมของเมนเดล
กฎข้อที่ 1 กฎแห่งการแยกตัว ( law of segregation) กล่าวว่า สิ่งที่ควบคุมลักษณะทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตที่สืบพันธุ์แบบอาศัยเพศมีอยู่เป็นคู่ ๆ แต่ละคู่แยกจากกันในระหว่าง การสร้างเซลล์พืชสืบพันธุ์ ทำให้เซลล์สืบพันธ์แต่ละเซลล์มีหน่วยควบคุมลักษณะนี้เพียงหนึ่งหน่วยและจะกลับเข้าคู่อีกเมื่อเซลล์สืบพันธ์ผสมกัน
สิ่งที่ควบคุมลักษณะทางพันธุกรรมซึ่งเป็นหน่วยที่คงตัวนั้น เมนเดล เรียกว่าแฟกเตอร์ (factor) ในปัจจุบันเรียกกันว่า ยีน (gene)
กฎข้อที่ 2 กฎแห่งการรวมกลุ่มอย่างอิสระ กล่าวว่า ในเซลล์สืบพันธุ์จะมีการรวมกลุ่มของหน่วยพันธุกรรมของลักษณะต่าง ๆ การรวมกลุ่มเหล่านี้เป็นไปอย่างอิสระ จึงทำให้เราสามารถทำนายผลที่เกิดขึ้นในรุ่นลูก และรุ่นหลานได้
ตัวอย่าง ถั่วเมล็ดกลม สีเหลือง จีโนไทป็เป็น R/r Y/y
http://dna202.exteen.com/20060813/entry-6

ยินดีต้อนรับบล็อกของ นางสาว กาญจนา มะลิกรรณ์

กาญจนา มะลิกรรณ์