วันศุกร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2553

GMOs ในสัตว์

ผลิตผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการตัดต่อเปลี่ยนแปลงยีนในทางสัตว์มีอยู่ 3 ประเด็นหลัก คือ

1. เพื่อเพิ่มผลผลิตปศุสัตว์ เพิ่มคุณภาพผลิตภัณฑ์จากสัตว์และทำให้ปศุสัตว์มีความทนทานต่อโรคเพิ่มขึ้น
2. เพื่อผลิตยารักษาโรค ชีวภัณฑ์ และอวัยวะสำหรับมนุษย์
3. เพื่อผลิตวัคซีนเพื่อป้องกันและรักษาโรค

1. GMO เพื่อเพิ่มผลผลิตปศุสัตว์ เพิ่มคุณภาพผลิตภัณฑ์จากสัตว์ และทำให้ปศุสัตว์มีความทนทานต่อโรคเพิ่มขึ้น

1.1 การเพิ่มผลผลิตปศุสัตว์

1) สุกร มีการฉีดยีนของฮอร์โมนเร่งการเจริญเติบโต (growth hormone)
ข้อดี : สุกรโตเร็วขึ้น และมีขนาดใหญ่กว่าปกติ 2-3 เท่าตัว
ข้อเสีย : สุกรมีปัญหาเรื่องขาและข้อ ทำให้สุกรเดินกระเผลก หรือเดินไม่ได้

2) โคนม มีการใช้ฮอร์โมนเร่งการเจริญเติบโต (bovine somatotropin, bST)
ซึ่งได้จากการตัดต่อยีนแล้วใส่เข้าไปในแบคทีเรียเพื่อแบคทีเรียผลิต และทำการสกัดเพื่อนำไปฉีดในโค
ข้อดี : ทำให้โคนมผลิตน้ำนมได้มากกว่าปกติประมาณ 10-30%
ข้อถกเถียง : ยังไม่มีการศึกษาถึงผลกระทบ แต่ปกติแล้วโคนมจะมีการหลั่งฮอร์โมนตัวนี้อยู่แล้ว
ถ้ามีการฉีดฮอร์โมนตัวนี้อาจทำให้มีการหลั่งฮอร์โมนตัวนี้เพิ่มขึ้น ซึ่งอาจจะมีผลกระทบต่อผู้บริโภค

3) สุกร เร่งการเจริญเติบโต และเพิ่มปริมาณเนื้อแดง โดยการใช้ฮอร์โมน parcine somatotropin (pST)

4) แกะ เพื่อคุณภาพ ความแข็งแรง และทนทานของขนแกะประเทศออสเตรเลียได้ทำการฉีดยีนของเคอร์ราติน (keratin) เพื่อสร้าง transgenic sheep





1.2 การผลิตสัตว์ให้มีความทนทานต่อโรคเพิ่มขึ้น

1) มีการตัดต่อยีนที่ทำให้สัตว์สร้างภูมิคุ้มกันได้ดีขึ้น

2) มีการตัดต่อยีนที่ทำให้ดื้อต่อเชื้อโรคนั้น ๆ ในสัตว์นั้น ๆ โดยยีนเฉพาะ และยีนที่มีขั้วตรงข้ามกับเชื้อที่จำเพาะ (hammer head
ribozyme) เพื่อทำลายเชื้อไวรัสที่เข้ามาในเซลล์ ตัวอย่างของโรคคือ โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวในโคและโรคปากและเท้าเปื่อย



2. GMO เพื่อผลิตยารักษาโรค ชีวภัณฑ์ และอวัยวะสำหรับมนุษย์

2.1 การผลิตยารักษาโรคที่ใช้ในมนุษย์ ปกติจะใช้แบคทีเรีย ยีสต์ หรือ cell culture เพื่อการผลิตโดยการฉีดยีนที่ตัดต่อ แล้วให้แบคทีเรีย ยีสต์หรือ
cell culture เป็นตัวสร้าง แต่เนื่องจากยารักษาโรคบางอย่างสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ไม่สามารถสร้างได้และต้นทุนผลิตสูงนอกจากนี้การทำการสกัดและ
ทำให้บริสุทธิ์ยากและผลิตได้น้อย จึงได้มีความคิดที่จะใช้สัตว์ในการผลิตยารักษาโรคต่าง ๆ
ข้อดี : สามารถผลิตยารักษาโรคต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต้นทุนต่ำ ทำให้บริสุทธิ์ง่าย
ข้อถกเถียง : ยังไม่มีการศึกษาถึงผลข้างเคียง

2.2 การผลิตเนื้อเยื่อ และอวัยวะที่ใช้ในมนุษย์

1) สุกรเป็นสัตว์อุดมคติที่จะเป็นตัวให้อวัยวะ เนื้อเยื่อและเซลล์ได้มีการฉีดยีนฮีโมโกลบินของคนในสุกรทำให้สามารถใช้เลือดสุกร
ทดแทนเลือดคน
ข้อดี : ลดการขาดแคลนเลือด ลดการติดต่อโรคระหว่างมนุษย์ทางโรค
ข้อถกเถียง : ยังไม่มีการศึกษา เนื่องจากยังไม่มีการใช้ทางการค้า (commercially use)

2) มีการใช้เซลล์สมองสุกร เซลล์ตับ และผิวหนัง เพื่อรักษาคน



3. GMO เพื่อผลิตวัคซีนเพื่อป้องกัน และรักษาโรค

3.1 DNA vaccine คือ วัคซีนที่เกิดการตัดต่อยีนของไวรัสหรือแบคทีเรียที่จะประสงค์เข้าไปเชื่อมต่อยีนของไวรัสที่เป็นพาหะ (vector)
ได้มีการผลิตและศึกษา DNA vaccine ต่าง ๆ หลายชนิด ซึ่งบางชนิดก็เริ่มมีการใช้ในมนุษย์
ข้อดี : สามารถกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันได้เหมือนวัคซีนธรรมดา
ข้อถกเถียง : ยังไม่มีการศึกษาถึงผลที่แน่นอน

3.2 DNA vaccine ในสัตว์ มีมากมายหลายชนิดเช่นเดียวกับคน ทั้งข้อดีและข้อถกเถียงเหมือน DNA vaccine ในมนุษย์

3.3 Edible vaccine เป็นการผลิตวัคซีนโดยใช้พืช การทำเหมือน GMO ในพืช เพียงแต่ยีนที่ตัดต่อและใส่เข้าไปในพืชเป็นยีนของแบคทีเรีย
หรือไวรัส แทนยีนที่เพิ่มผลผลิตมี Edible vaccine หลายชนิด ซึ่งบางชนิดได้เริ่มมีการใช้ในมนุษย์และสัตว์


http://rdi.ku.ac.th/GMOS/GMOs1/index2/index1_3.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น